เป้าหมายรายสัปดาห์ที่
1 : สามารถวิเคราะห์และให้เหตุผลสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
Week
|
Input
|
Process
|
Out put
|
Outcome
|
1
12-16
ม.ค.
2558
|
โจทย์ : สิ่งที่อยากเรียนรู้
Key Questions :
นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร ทำไมอยากเรียนเรื่องนี้
เครื่องมือคิด
Round Robin : ความรู้สึกหลังจากได้ดูคลิปหนังสั้น
Black board Share : แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
และตั้งชื่อหน่วย
Think Pair Share : เพื่อเลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้
Wall Thinking : ติดชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อแหล่งเรียนรู้
- คลิปหนังสั้นเรื่อง รักเก่าที่บ้านเกิด บันทึกควรดี และโตไปไม่โกง ตอน เช่น
กิมจู สัมพันธภาพ แบงค์ปลอม สุนัขหาย แปะเจี๊ยะ
- เรื่องเล่าช่วงปิดเรียน
- บรรยากาศในชั้นเรียน
|
วันจันทร์ ( 3 ชั่วโมง )
ชง
:
-
ครูและนักเรียนร่วมทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ใน Quarter ที่ผ่านมา
- ดูคลิปและหนังสั้นเรื่อง รักเก่าที่บ้านเกิด บันทึกควรดี และโตไปไม่โกง
เชื่อม
:
-
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนเห็นอะไรบ้างจากการดูการฟัง รู้สึกอย่างไรบ้าง
และคิดเห็นอย่างไร
-
ครูและนักเรียนอภิปรายและสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู
ใช้
:
นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้จากการดูคลิปหนังสั้นโดยครูมีโจทย์คือ
1.
สิ่งที่ได้เรียนรู้ 2. ปัญหาที่พบ 3. ข้อคิดที่นักเรียนได้
4. ถ้านักเรียนเจอเหตุการณ์นั้นกับตนเองนักเรียนจะทำอย่างไรเพราะอะไร
วันอังคาร ( 3 ชั่วโมง )
ชง
:
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในชั่วโมงที่ผ่านมา
- ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม “นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร
และทำไมอยากเรียนรู้เรื่องนั้นและนักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยว่าอะไรจึงจะน่าสนใจ
และมีความสอดคล้องกับสิ่งที่จะได้เรียนรู้ใน Quarter 4
เชื่อม :
- นักเรียนเลือกหัวข้อที่อยากเรียนรู้ผ่านเครื่องมือคิด Think Pair
Share
- ครูให้นักเรียนตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ใน Quarter 4 ผ่านเครื่องมือคิด Blackboard Share
โดยมีโจทย์คือ สั้น สื่อความหมาย เข้าใจง่ายและครอบคลุม
สามารถสื่อหรือสอดคล้องกับเรื่องที่เรียน
- นักเรียนตั้งชื่อหน่วยบูรณาการผ่านเครื่องมือคิด
Blackboard Share
วันศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง
:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด
“
อะไรที่นักเรียนรู้แล้วและอะไรที่นักเรียนอยากเรียนรู้ใน Quarter
4 โดยให้นักเรียนฝึกตั้งเป็นคำถาม
เชื่อม
:
นักเรียนร่วมตอบคำถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด
Round Robin
เกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
ใช้:
- ครูแจกกระดาษ A4 คนละ
1 แผ่นเพื่อให้นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ใน
Quarter 4
-
ครูให้นักเรียนเขียนสรุปความรู้ความเข้าใจก่อนการเรียนรู้ผ่านเครื่องมือคิด Mind
Mapping
- ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้และทบทวนตลอดทั้งสัปดาห์
-
ครูนำนักเรียนทำกิจกรรม นิวรณ์ 5 “กลับมารู้ตัว”
เพื่อดึงความคิด ความรู้สึกกลับมาอยู่กับตัวเองบ่อยๆ
แทรกทุกครั้งเมื่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้ทุกคนไม่มีสติในการทำงาน เสียเวลา / คุณภาพงานไม่สอดคล้องกัน
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1
|
ภาระงาน
- การเลือกหน่วยที่อยากเรียนรู้และตั้งชื่อหน่วย
- การคิดวิเคราะห์และตอบคำถามสิ่งที่ได้ฟัง
- การสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และแสดงความคิดเห็นชิ้นงาน
- สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิปและหนังสั้น
- ชื่อหน่วยที่อยากเรียนรู้ใน Quarter 4
- สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
- Mind Mapping ก่อนเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1
|
ความรู้ : สามารถวิเคราะห์และให้เหตุผลสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะ : ทักษะชีวิต - ทำชิ้นงานและจัดมุมต่างๆตกแต่งห้องเรียนได้ตามความถนัด
- ออกแบบและวางแผนการทำงานได้อย่างเป็นขั้นตอน
- เลือกใช้วัสดุ/อุปกรณ์ในการทำงานได้คุ้มค่า
ทักษะการคิดสร้างสรรค์ - สามารถคิดเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- สามารถสังเคราะห์ข้อมูลปฏิทินที่แต่ละกลุ่มทำรวมเป็นปฏิทินห้องได้
- คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มได้ ทักษะการสื่อสาร อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มอยากเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการจัดการข้อมูล
- ลำดับขั้นตอนการทำงานก่อนหลังได้อย่างเหมาะสม
-
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาจากการเลือกหน่วยที่อยากเรียนรู้และการตั้งชื่อหน่วยให้น่าสนใจและเพื่อนทุกคนเห็นด้วยได้อย่างเหมาสม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- - ทำงานเป็นกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นในการเลือกหน่วยที่อยากเรียนรู้ได้
-
- มีจิตอาสาในการเตรียมและเก็บอุปกรณ์หลังการทำงานของเพื่อนๆ
ในแต่ละกลุ่ม
คุณลักษณะ : - มีความพยายามในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- คารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- สามารถปรับตัวยึดหยุ่นและร่วมงานกับเพื่อนๆได้
|
บันทึกหลังการสอน สัปดาห์ที่ 1 PBL หน่วย : Short Movie
Indy ไทบ้าน
สัปดาห์แรกของการเรียนรู้ ใน Quarter ที่ 4 นักเรียนหลายคนเริ่มรู้ตัวว่าตนเองใกล้จะจบการศึกษา ช่วงเวลาที่เหลือจึงเป็นช่วงเวลาที่มีค่า สำหรับการใช้ชีวิตร่วมกันของเพื่อนๆที่เรียนด้วยกันมาตลอด 8 ปี ครูเริ่มต้นด้วยการให้นักเรียนดูหนังสั้นเรื่อง รักเก่าที่บ้านเกิด บันทึกควรดี และโตไปไม่โกง หลายตอน เช่น กิมจู สัมพันธภาพ แบงค์ปลอม สุนัขหาย แปะเจี๊ยะ ซึ่งเป็นหนังสั้นที่ความสนุก และมีข้อคิดแฝงอยู่ทั้งสิ้น นักเรียนดูสนใจกับหนังสั้นที่ครูนำมาเปิดให้ดูกันมาก นักเรียนบางคนไม่ยอมลุกไปเข้าห้องน้ำเพราะเกรงว่าจะพลาดตอนสำคัญ วันต่อมาครูได้ให้นักเรียนเลือกหัวข้อที่อยากเรียนรู้ ซึ่งนักเรียนทั้งหมดเห็นด้วยที่จะเรียนเกี่ยวกับหนังสั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ครูและนักเรียนได้วางแผนว่าจะเรียนตั้งแต่ช่วงปลาย Quarter 3 ที่ผ่านมา ดังนั้นจึงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง จากนั้นครูได้ให้นักเรียนตั้งชื่อหน่วยให้น่าสนใจสำหรับการเรียนรู้ใน Quarter ที่ 4 ซึ่งนักเรียนเสนอชื่อหน่วยหลายชื่อ เช่น หนังสั้น Short Film หนังสั้นหรรษา ผู้บ่าวไทบ้าน Movie Indy ไทบ้าน และชื่อสุดท้ายที่เสนอโดยพี่ปังปอนก็เป็นชื่อที่ได้รับการเลือกให้เป็นชื่อที่น่าสนใจมากที่สุด เพื่อนๆมองไปที่พี่ปังปอนทำให้พี่ปังปอนรู้สึกเขินเพื่อนนิดๆ แต่ก็เป็นบรรยากาศการเรียนที่มีสีสันมากขึ้น (พี่ปังปอนเริ่มโตเป็นหนุ่มแล้วครับ) และเพื่อให้สื่อถึงหนังสั้นครูจึงเสนอแนะว่าน่าจะมีคำว่า Short นำหน้า ซึ่งนักเรียนต่างก็เห็นด้วย ดังนั้นหน่วยที่นักเรียนจะได้เรียนรู้ใน Quarter 4 ก็คือ Short Movie Indy ไทบ้าน หลังจากนั้นครูได้ให้นักเรียนแบ่งหน้าที่กันจัดบรรยากาศการเรียนรู้ในชั้นเรียน เช่น จัดหาหนังสือที่เกี่ยวข้องกับหน่วยบูรณาการที่จะเรียน เขียนป้ายชื่อหน่วยสำหรับติดหน้าชั้นเรียน จัดเตรียมบอร์ดสำหรับหน่วยการเรียนรู้ใน Quarter 4 เป็นต้น ซึ่งนักเรียนต่างรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำหนังสั้น วันต่อมาครูได้ให้นักเรียนเขียนสิ่งที่ตนเองรู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับสื่อและหนังสั้น และ สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน สัปดาห์นี้ดำเนินกิจกรรมไปได้ค่อนข้างราบรื่นดีและสังเกตดูแววตา และสีหน้าของนักเรียนก็สามารถบอกได้ว่าเพื่อนๆทุกคนในชั้นเรียนอยากให้การเรียนรู้ใน Quarter สุดท้ายเป็นไปอย่างน่าประทับใจของเพื่อนๆทุกคน หลังจากนั้นครูและพี่ๆ ได้ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์และให้นักเรียนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ของตนเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น