เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษาที่ 2/2557 หน่วย: "สร้างหนังสั้นรู้ทันสื่อ(Short Movie Indy ไทบ้าน)"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. เข้าใจและสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ เลือกบริโภคสื่อต่างๆ ได้อย่างมีวิจารณญาณ
2. เข้าใจกระบวนการสร้างหนังสั้นและสามารถออกแบบวางแผนสร้างหนังสั้นที่มีคุณค่าต่อตนเองและสังคมได้อย่างสร้างสรรค์

week 3


เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 3สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ข่าวสารข้อมูลจากสื่อหรือโฆษณาผ่านช่องทางต่างๆได้อย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน

Week
Input
Process
Out put
Outcome
3
26-30
ม.ค.
2558
โจทย์ : ปัญหาจากสื่อและโฆษณา
คำถาม
สื่อ หนังสั้นและโฆษณามีความเกี่ยวข้องกับนักเรียนอย่างไร และนักเรียนจะรู้เท่าทันสื่อและโฆษณาเหล่านั้นอย่างไร
ปัญหาจากการรับสื่อและโฆษณาที่ไม่เหมาะสมหรือบิดเบือนจะส่งผลต่อตัวนักเรียนและคนรอบข้างอย่างไร
เครื่องมือคิด
Jigsaw ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับปัญหาจากสื่อหรือโฆษณาช่องทางต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ และSocial Network
Round Robin แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบจากการรับสื่อหรือโฆษณาประเภทต่างๆ เช่น สื่อวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ และSocial Network
Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
Wall Thinking ติดชิ้นงาน

วันจันทร์ ( 3 ชั่วโมง )
ชง :
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด สื่อ หนังสั้นและโฆษณามีความเกี่ยวข้องกับนักเรียนอย่างไร และนักเรียนจะรู้เท่าทันสื่อและโฆษณาเหล่านั้นอย่างไร”
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและอภิปรายเกี่ยวกับคำถามในขั้นชง
- แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม 6 กลุ่มจากนั้นครูนำข่าวสารจากสื่อรูปแบบต่างๆมาให้นักเรียนแต่ละกลุ่มอ่านและวิเคราะห์ สังเคราะห์ รวมทั้งประเมินความน่าเชื่อถือ(วิจารณญาณ)
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถามต่อ นักเรียนคิดว่า ปัญหาจากการรับสื่อและโฆษณาที่ไม่เหมาะสมหรือบิดเบือนจะส่งผลต่อตัวนักเรียนและคนรอบข้างอย่างไร
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนอภิปรายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้เครื่องมือคิด Round Robin
- ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่มและแต่ละกลุ่มค้นคว้าเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบจากการรับสื่อหรือโฆษณาประเภทต่างๆ เช่น สื่อวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ และSocial Network

วันอังคาร ( 3 ชั่วโมง )
ชง :
ครูใช้คำถามนำ นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับอะไรบ้างในวันที่ผ่านมา แต่ละกลุ่มเกิดปัญหาอะไรขึ้นบ้าง และมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร ?”
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและอภิปรายเกี่ยวกับคำถามในขั้นชง
- ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มรายงานความคืบหน้าของงานที่ได้รับมอบหมาย
ชง :
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะนำข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าและอภิปรายร่วมกันมาจัดกระทำ และนำเสนอ เพื่อถ่ายทอดสู่ผู้อื่นให้น่าสนใจได้อย่างไร?”
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและอภิปรายเกี่ยวกับคำถามในขั้นชง
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำในรูปแบบที่น่าสนใจและนำเสนอต่อครูและเพื่อนร่วมชั้น
ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าสื่อไหนที่มีอิทธิพลและใกล้ตัวนักเรียนมากที่สุด เพราะอะไรจึงคิดเช่นนั้น และส่งผลต่อตัวนักเรียนหรือคนรอบข้างอย่างไรบ้าง?”
 เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย แสดงความคิดเห็นและให้เหตุผลจากคำถามในขั้นชงและให้นักเรียนยกตัวอย่างสื่อและโฆษณาที่พบในชีวิตประจำวัน ที่ดูเกินจริง และแสดงความคิดเห็นต่อสื่อและโฆษณานั้นๆอย่างสร้างสรรค์
ใช้ :
นักเรียนทำชิ้นงานวิเคราะห์โฆษณาเกินจริงที่พบในชีวิตประจำวัน

วันศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )
 ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดเพื่อทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์  เช่น สัปดาห์นี้นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง รู้สึกอย่างไร เกิดปัญหาอะไรขึ้นบ้าง และนักเรียนแก้ปัญหาต่างๆนั้นอย่างไร เป็นต้น
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันตอบคำถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้  แสดงความคิดเห็นและให้เหตุผลจากคำถามในขั้นชง
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ใช้ :
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่  3
- ครูนำนักเรียนทำกิจกรรม นิวรณ์ 5 “กลับมารู้ตัว” เพื่อดึงความคิด ความรู้สึกกลับมาอยู่กับตัวเองบ่อยๆ แทรกทุกครั้งเมื่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้ทุกคนไม่มีสติในการทำงาน เสียเวลา / คุณภาพงานไม่สอดคล้องกัน
ชิ้นงาน
- การวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารหรือจากสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์จากช่องทางต่างๆ
- นิทานหรือการ์ตูนช่องเกี่ยวกับการใช้สื่อและโฆษณา
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 3
ภาระงาน
- วิเคราะห์สื่อหรือโฆษณารูปแบบต่างๆ
- วิเคราะห์ สังเคราะห์ผลจากการรับสื่อและโฆษณาที่ไม่เหมาะสมหรือบิดเบือนที่จะส่งผลต่อตัวนักเรียนและคนรอบข้าง
ความรู้ : สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ข่าวสารข้อมูลจากสื่อหรือโฆษณาผ่านช่องทางต่างๆได้อย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
ออกแบบและวางแผนการทำงานได้อย่างเป็นขั้นตอน
เลือกใช้วัสดุ/อุปกรณ์ในการทำงานได้คุ้มค่า
ทักษะการคิด
สามารถคิดเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข่าวสารข้อมูลจากสื่อหรือโฆษณาผ่านช่องทางต่างๆได้อย่างมีวิจารณญาณ
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มอย่างยืดหยุ่น
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอข้อมูลที่หาได้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆและนำเสนอจากการค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบจากการรับสื่อหรือโฆษณาประเภทต่างๆ เช่น สื่อวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ และ Social Network ได้อย่างน่าสนใจและสร้างสรรค์
คุณลักษณะ :
คารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง




























บันทึกหลังการสอน สัปดาห์ที่ 3 PBL หน่วย : สร้างหนังสั้นรู้ทันสื่อ (Short Movie Indy ไทบ้าน)
สัปดาห์นี้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาจากสื่อและโฆษณาซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวที่นักเรียนต่างให้ความสนใจ แม้ว่าโฆษณาบางอย่างที่พบในสื่อโทรทัศน์อาจดูแล้วเพลิดเพลิน ตลก แต่โฆษณาสินค้าหลายอย่างก็มักจะเป็นสิ่งที่เกินจริง เมื่อครูตั้งคำถามว่า นักเรียนคิดว่ามีโฆษณาอะไรบ้างที่ดูเกินจริง ที่นักเรียนพบในชีวิตประจำวัน นักเรียนแทบทุกคนต่างยกมือเพื่อตอบคำถามนี้ เช่น
พี่มิลค์ โฆษณาขนมตะวันค่ะ มักจะอ้างว่าได้เยอะคุ้มค่าราคาไม่แพง ไม่มีไขมัน มีวิตามิน แต่ความจริงซองที่ใหญ่นั้นเต็มไปด้วยอากาศ ปริมาณไม่เยอะตามที่โฆษณาไว้ค่ะ
พี่โจเซฟ โฆษณาแบรนด์ครับ  เขาบอกว่าให้เด็กกินแบรนด์โดยเฉพาะตอนเช้าจะทำให้สมองดีเหมาะที่จะเรียนรู้ ผมคิดว่าเกินจริงเราไม่ควรเชื่ออไรง่ายๆ
พี่แอน โฆษณาโออิชิ คือมีคนไปเด็ดใบชาจากตีนเขามาทำเป็นชาโออิชิ และบอกว่าจะสดชื่นและได้ประโยชน์และเอาของรางวัลมาล่อ เช่นไอโฟน รถยนต์
พี่คอป โฆษณา Big Cola (น้ำอัดลม) เมื่อดื่มแล้วจะทำให้สดชื่นซ่ากันหลายคน ผลที่เกิดขึ้นก็ซ่าจริงๆ แต่ก็กัดกระเพาะของคน ถ้าดื่มมากคนก็จะเป็นโรคอ้วนครับ
พี่เพชร โฆษณาเทสโก้ โลตัส(ถูกที่สุด) มีการโฆษณาว่าสินค้าจนมนุษย์ต่างดาวต้องมาซื้อ ซึ่งเกินจริงมาก สินค้าบางอย่างก็ราคายังแพง
พี่มายด์ โฆษณายาสีฟันซิสเทมม่า ในโฆษณามีนักวอลเลย์บอลทีมชาติไทยที่ดัดฟันบอกว่าแปรงฟันด้วยยาสีฟันซิสเทมม่าแล้วทำให้ฟันขาวและมั่นใจ “ซิสเทมม่าเพื่อคนดัดฟัน” ทำให้คนที่ดูโฆษณาคล้อยตาม
 พี่ยุ้ย โฆษณาเปปทีน ในโฆษณามีเด็กๆแต่ละคนบอกความฝันของตนเอง เช่น อยากเป็นหมอ แล้วก็ชวนให้ดื่มเปปทีนแล้วจะทำให้สมองเร็วขึ้นจดจำได้ง่ายขึ้น สมปรารถนาทุกประการซึ่งหนูคิดว่าไม่น่าจะจริงและคงเป็นไปไม่ได้ค่ะ
ช่วงสุดท้ายนักเรียนแต่ละคนได้สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ จากกิจกรรมที่ทำตลอดทั้งสัปดาห์นักเรียนหลายคนกระตือรือร้นและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆดีมากครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น