เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษาที่ 2/2557 หน่วย: "สร้างหนังสั้นรู้ทันสื่อ(Short Movie Indy ไทบ้าน)"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. เข้าใจและสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ เลือกบริโภคสื่อต่างๆ ได้อย่างมีวิจารณญาณ
2. เข้าใจกระบวนการสร้างหนังสั้นและสามารถออกแบบวางแผนสร้างหนังสั้นที่มีคุณค่าต่อตนเองและสังคมได้อย่างสร้างสรรค์

week 5


เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 5สามารถสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าค่ายเพื่อพัฒนาตนเองและทีมอย่างสร้างสรรค์ สามารถวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนในการผลิตสื่อหนังสั้นและโฆษณาที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นได้โดยประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในการผลิตสื่อได้อย่างคุ้มค่า
Week
Input
Process
Out put
Outcome
5
9 - 13
ก.พ.
2558
โจทย์ : สะท้อนกิจกรรมเข้าค่ายและวางแผนการทำสื่อหนังสั้นสร้างสรรค์
Key  Questions
- นักเรียนมีความเข้าใจต่อโฆษณาและหนังสั้นมากน้อยเพียงใด และถ้านักเรียนจะผลิตโฆษณาและหนังสั้น นักเรียนจะต้องเรียนรู้อะไรบ้าง
- นักเรียนจะวางแผนการทำงานเพื่อผลิตสื่อสร้างสรรค์อย่างไรโดยทุกคนได้มีส่วนร่วมและเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
- นักเรียนพบปัญหาอะไรจากการทำงานและจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร

เครื่องมือคิด
Corner :
ศึกษาและค้นหาข้อมูลที่จำเป็นตามที่ได้รับมอบหมายจากสมาชิกในกลุ่มและนำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันภายในกลุ่ม
Round Robin :
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการทำงานและแนวทางแก้ไข
สุนทรียสนทนา :
การวางแผนการทำสื่อหนังสั้นอย่างสร้างสรรค์

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- อินเทอร์เน็ต
- ห้องสมุด
- อุปกรณ์การทดลองที่นักเรียนเตรียมมา
วันจันทร์ ( 3 ชั่วโมง )
ชง :
หลังจากที่นักเรียนได้เข้าค่ายการสร้างสื่อสารคดีและหนังสั้นที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ระหว่างวัน ที่ 5 - 7 กุมภาพันธ์ 2558 โดยมี ครูปรีดา ปัญญาจันทร์ เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ การทำสื่อสารคดีและหนังสั้นอย่างสร้างสรรค์นั้น สัปดาห์นี้จึงเป็นการสะท้อนกิจกรรมและถอดบทเรียนจากกิจกรรมเข้าค่ายดังกล่าวโดยครูเริ่มต้นจากการเปิดภาพกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดช่วงที่เข้าค่ายให้นักเรียนดู จากนั้นครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด เช่น นักเรียนรู้สึกอย่างไร นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเข้าค่าย และนักเรียนพบปัญหาอะไรบ้าง มีวิธีการแก้ไขอย่างไร เป็นต้น
เชื่อม :
- ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มแบบคละกันเพื่อให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่แต่ละคนได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย ผ่านเครื่องมือคิด Placemat
- นักเรียนแต่ละกลุ่มได้นำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
ใช้ :
นักเรียนได้เขียนบทความเกี่ยวกับการเข้าค่ายเป็นงานเดี่ยวเพื่อฝึกให้นักเรียนสามารถถ่ายทอดความรู้สึกของตนเองสู่ผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ หลายคนประทับใจกิจกรรมการเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้านซับหินแก้ว (การไปดูชาวบ้านรีดนมวัว) กิจกรรมปีนเขาและกิจกรรมรอบกองไฟ เป็นต้น
ชง :
 ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด  นักเรียนมีความเข้าใจต่อโฆษณาและหนังสั้นมากน้อยเพียงใด และถ้านักเรียนจะผลิตโฆษณาและหนังสั้น นักเรียนจะต้องเรียนรู้อะไรบ้าง
เชื่อม :  
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและอภิปรายเกี่ยวกับคำถามในขั้นชง
- นักเรียนแบ่งกลุ่มเพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับหนังสั้นและโฆษณาในหัวข้อต่างๆ เช่น
1. หลักการเขียนบทที่น่าสนใจ
2. การสร้างบทภาพ (Story Board)
3. การถ่ายทำ / มุมกล้อง / การลำดับภาพ
4. การตัดต่อ / เทคนิคพิเศษ / การใส่เสียงหรือดนตรีประกอบ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจ และนำเสนอต่อครูและเพื่อนร่วมชั้น
ชง :
 ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด  นักเรียน จะวางแผนการทำงานเพื่อผลิตสื่อสร้างสรรค์อย่างไรโดยทุกคนได้มีส่วนร่วมและเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง และจะจัดสรรหน้าที่อย่างไร
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและอภิปรายจากคำถามในขั้นชง
- ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนั่งสนทนาวางแผนการทำงานร่วมกัน โดยใช้เครื่องมือคิด สุนทรียะสนทนา
วันอังคาร ( 3 ชั่วโมง )
ชง :
ครูใช้คำถามนำ นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับอะไรบ้างในวันที่ผ่านมา แต่ละกลุ่มเกิดปัญหาอะไรขึ้นบ้าง และมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร ?”
เชื่อม :
นักเรียนร่วมกันตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็นจากคำถามในขั้นชง
ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะวางแผนการทำงานเพื่อผลิตสื่อสร้างสรรค์อย่างไรโดยทุกคนได้มีส่วนร่วมและเกิดการเรียนรู้ได้อย่างไร?””
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและอภิปรายจากคำถามในขั้นชง
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนัดหมายเตรียมอุปกรณ์ในการถ่ายทำเช่น สื่อต่างๆ  ชุด และอุปกรณ์การแสดง เป็นต้น
ใช้ :
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนและนักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานและบันทึกลงในสมุดงานPBL  จากนั้นนักเรียนแต่ละกลุ่มเริ่มลงมือเขียนบทย่อนำเสนอต่อครู เมื่อผ่านแล้วจึงเริ่มเขียนบทภาพ (Story Board) และนำบทภาพมานำเสนอต่อครู เมื่อบทภาพผ่านแล้วจึงจะสามารถเริ่มลงมือถ่ายทำได้
วันศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
ครูใช้คำถามนำ นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับอะไรบ้างในวันที่ผ่านมา แต่ละกลุ่มเกิดปัญหาอะไรขึ้นบ้าง และมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร ?”
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็นจากคำถามในขั้นชงโดยใช้เครื่องมือคิด Round Robin
- ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มรายงานความคืบหน้าของงานที่ได้รับมอบหมาย
ใช้ :
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
- ครูนำนักเรียนทำกิจกรรม นิวรณ์ 5 “กลับมารู้ตัว” เพื่อดึงความคิด ความรู้สึกกลับมาอยู่กับตัวเองบ่อยๆ แทรกทุกครั้งเมื่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้ทุกคนไม่มีสติในการทำงาน เสียเวลา / คุณภาพงานไม่สอดคล้องกัน
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่  5
ภาระงาน
- การถอดบทเรียนสิ่งที่ไดเรียนรู้จากการเข้าค่ายการสร้างสื่อสารคดีและหนังสั้นที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
- การค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการผลิตสื่อหนังสั้นสร้างสรรค์และน่าสนใจและการนำเสนอต่อครูและเพื่อนร่วมชั้น
- การวางแผนการทำงานผลิตหนังสั้นเป็นกลุ่ม
- การเปิดวงสนทนาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานและแนวทางแก้ไข
- การสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ชิ้นงาน
- บทความเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าค่าย
- เนื้อเรื่องย่อ(หนังสั้น)
- บทภาพ(Story board)
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ : สามารถสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าค่ายเพื่อพัฒนาตนเองและทีมอย่างสร้างสรรค์ สามารถวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนในการผลิตสื่อหนังสั้นและโฆษณาที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นได้โดยประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในการผลิตสื่อได้อย่างคุ้มค่า
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างเหมาะสมและสามารถประยุกต์ใช้วัสดุอุปกรณ์สำหรับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นในการวางแผนการทำหนังสั้น
สามารถออกแบบและวางแผนการทำงานได้อย่างเป็นขั้นตอน
ทักษะการคิด
สามารถคิดเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
คิดสร้างสรรค์ในการผลิตสื่อหนังสั้นและโฆษณาที่สร้างสรรค์ได้อย่างเป็นขั้นตอนและตรงตามเป้าหมายที่ต้องการ
การคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
ทักษะการสื่อสาร
- พูดนำเสนอหรืออธิบายขั้นตอนในการวางแผน ออกแบบการทำงาน ได้อย่างน่าสนใจและสร้างสรรค์
- อธิบายและนำเสนอชิ้นงานเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกสู่ผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
- สามารถประนีประนอม ยืดหยุ่นเมื่อเกิดความขัดแย้งในการทำงานได้อย่างมีเหตุผล
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ ของตนเองและเพื่อนๆในการทำงานร่วมกันเพื่อผลิตสื่อสร้างสรรค์
- การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นในการวางแผนทำหนังสั้น
- รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย เช่น บทย่อ บทภาพ(Story Board) และส่งงานตรงเวลา
- มีจิตอาสาในการทำงานกลุ่ม มีน้ำใจ ช่วยเหลือแบ่งปันอุปกรณ์สำหรับการทำงาน


























































บันทึกหลังการสอน สัปดาห์ที่ 5 PBL หน่วย : สร้างหนังสั้นรู้ทันสื่อ (Short Movie Indy ไทบ้าน)

หลังจากที่นักเรียนได้เข้าค่ายการสร้างสื่อสารคดีและหนังสั้นที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ระหว่างวัน ที่ 5 - 7 กุมภาพันธ์ 2558 โดยมี ครูปรีดา ปัญญาจันทร์ เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ การทำสื่อสารคดีและหนังสั้นอย่างสร้างสรรค์นั้น สัปดาห์นี้จึงเป็นการสะท้อนกิจกรรมและถอดบทเรียนจากกิจกรรมเข้าค่ายดังกล่าว ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มแบบคละกันเพื่อให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่แต่ละคนได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย ผ่านเครื่องมือคิด Placemat หลังจากนั้นนักเรียนแต่ละกลุ่มได้นำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และครูได้ให้นักเรียนได้เขียนบทความเกี่ยวกับการเข้าค่ายเป็นงานเดี่ยวเพื่อฝึกให้นักเรียนสามารถถ่ายทอดความรู้สึกของตนเองสู่ผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ หลายคนประทับใจกิจกรรมการเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้านซับหินแก้ว (การไปดูชาวบ้านรีดนมวัว) กิจกรรมปีนเขาและกิจกรรมรอบกองไฟ หลังจากนั้นนักเรียนได้เรียนรู้พื้นฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับการผลิตสื่อและหนังสั้นอย่างสร้างสรรค์ โดยครูแบ่งกลุ่มให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง นักเรียนแต่ละกลุ่มมีความกระตือรือร้นในการค้นคว้าข้อมูลตามที่ตนเองได้รับมอบหมายดี เพื่อให้นักเรียนทุกคนเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้นครูจึงกำหนดให้นักเรียนค้นคว้าบางหัวข้อที่คล้ายกันลงในสมุดงานของตนเอง นั่นคือหัวข้อ ขั้นตอนการทำสื่อหนังสั้น เมื่อนักเรียนแต่ละกลุ่มทำงานเสร็จครูได้ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนองานของตนเอง มีบางกลุ่มที่นำเสนอแล้ววกไปวนมา แต่ก็มีหลายกลุ่มที่นำเสนอได้ดีและง่ายต่อความเข้าใจ เช่นกลุ่มของพี่เพลงที่สามารถถ่ายทอดขั้นตอนการทำหนังสั้นให้ครูและเพื่อนร่วมชั้นฟังได้เข้าใจได้ง่าย ท้ายชั่วโมงให้นักเรียนสรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้จากเพื่อนๆ และวันต่อมาครูให้โจทย์สำคัญคือ ”นักเรียนจะวางแผนการทำงานเพื่อผลิตสื่อสร้างสรรค์อย่างไรโดยทุกคนได้มีส่วนร่วมและเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง” นักเรียนแต่ละกลุ่มดูจริงจังในการสนทนาเพื่อวางแผนการทำงานร่วมกับเพื่อนๆเพื่อให้งานออกมาสำเร็จและเสร็จทันตามเวลาที่กำหนด เมื่อได้ข้อสรุปแล้วแต่ละกลุ่มก็ได้เริ่มต้นการทำงาน เช่น คิดเค้าโครงเรื่องแบบสั้นๆ นำเสนอต่อครู เมื่อผ่านแล้วจึงเขียนบทแบบละเอียด ทำบทภาพ (Story Board) วางตัวละครในเนื้อเรื่อง ขั้นตอนนี้ค่อนข้างใช้เวลาเยอะ เพราะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการคิดบท แต่ทุกกลุ่มก็สามารถทำจนสำเร็จ วันสุดท้ายได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงปัญหาต่างๆที่พบในระหว่างกระบวนการทำงานตลอดทั้งสัปดาห์ บรรยากาศการสนทนาน่าจะทำให้นักเรียนได้เรียนรู้หลายอย่างและได้ท้าทายความสามารถของนักเรียนโดยเฉพาะการทำงานกลุ่มให้สำเร็จตามที่วางแผนไว้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น