เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษาที่ 2/2557 หน่วย: "สร้างหนังสั้นรู้ทันสื่อ(Short Movie Indy ไทบ้าน)"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. เข้าใจและสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ เลือกบริโภคสื่อต่างๆ ได้อย่างมีวิจารณญาณ
2. เข้าใจกระบวนการสร้างหนังสั้นและสามารถออกแบบวางแผนสร้างหนังสั้นที่มีคุณค่าต่อตนเองและสังคมได้อย่างสร้างสรรค์

week6

เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 6สามารถทำงานตามแผนที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอนในการผลิตสื่อหนังสั้นสร้างสรรค์โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในการทำงานได้อย่างคุ้มค่า

Week
Input
Process
Out put
Outcome
6
16-20
ก.พ.
2558
โจทย์ : การทำงานอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นทีมเพื่อผลิตสื่อสร้างสรรค์
Key  Questions
- นักเรียนจะวางแผนการทำงานเพื่อผลิตสื่อสร้างสรรค์อย่างไรให้เสร็จทันตามเวลาที่กำหนด
- นักเรียนพบปัญหาอะไรจากการทำงานและจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร
เครื่องมือคิด
Round Robin : ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการถ่ายทำหนังสั้น และแนวทางแก้ไข
-    Brainstorms : ระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการทำตัวอย่างหนังสั้น
-    Show & Share : นำเสนอตัวอย่างหนังสั้นต่อครูและเพื่อนร่วมชั้นเรียน
สุนทรียะสนทนา :
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการทำงาน และแนวทางแก้ไข
 Wall Thinking : ติดชิ้นงานสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์และชิ้นงานนักเรียน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- อินเทอร์เน็ต
- ห้องสมุด
- อุปกรณ์การแสดงที่นักเรียนเตรียมมา

วันจันทร์ ( 3 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะวางแผนการทำงานเพื่อผลิตสื่อสร้างสรรค์อย่างไรให้เสร็จทันตามเวลาที่กำหนด”
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและอภิปรายจากคำถามในขั้นชง
- นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนการทำงาน
- ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเริ่มถ่ายทำโดยให้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มรายงานความคืบหน้าและสนทนาแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ ปัญหาที่พบ แนวทางแก้ไข

วันอังคาร ( 3 ชั่วโมง )
ชง :
ครูใช้คำถามนำ นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับอะไรบ้างในวันที่ผ่านมา แต่ละกลุ่มเกิดปัญหาอะไรขึ้นบ้าง และมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร ?”
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็นจากคำถามในขั้นชง
- ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเริ่มถ่ายทำโดยให้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
- ครูติดตามการทำงานของนักเรียนแต่ละกลุ่ม และให้นักเรียนแต่ละกลุ่มรายงานความคืบหน้าของงาน
ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนแต่ละกลุ่มพบปัญหาอะไรจากการทำงานและจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและอภิปรายจากคำถามในขั้นชง
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานและบันทึกลงในสมุดงาน PBL
วันศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะทำอย่างไรเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้อื่นได้รับทราบและอยากติดตามผลงานหนังสั้นที่นักเรียนกำลังทำอยู่ว่ามีความน่าสนใจ”
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็นจากคำถามในขั้นชง
- ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนทำตัวอย่างหนังสั้น เพื่อประชาสัมพันธ์งานของตนเอง และนำเสนอต่อครูและเพื่อนๆ
ใช้ :
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
- ครูนำนักเรียนทำกิจกรรม นิวรณ์ 5 “กลับมารู้ตัว” เพื่อดึงความคิด ความรู้สึกกลับมาอยู่กับตัวเองบ่อยๆ แทรกทุกครั้งเมื่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้ทุกคนไม่มีสติในการทำงาน เสียเวลา / คุณภาพงานไม่สอดคล้องกัน
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่  6
ภาระงาน
- การถ่ายทำหนังสั้น
- การแลกเปลี่ยนและสะท้อนสิ่งที่ได้จากการทำงาน
- การประชาสัมพันธ์สิ่งที่ตนเองเรียนรูผ่านตัวอย่างหนังสั้น
ชิ้นงาน
- ตัวอย่างหนังสั้น
- คลิปที่ได้จากการถ่ายทำหนังสั้น
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้ สามารถทำงานตามแผนที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอนในการผลิตสื่อหนังสั้นสร้างสรรค์โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในการทำงานได้อย่างคุ้มค่า
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างเหมาะสมและสามารถประยุกต์ใช้วัสดุอุปกรณ์สำหรับการทำหนังสั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีทักษะในการทำหนังสั้นเป็นทีม
สามารถออกแบบและวางแผนการทำหนังสั้นได้อย่างเป็นขั้นตอน
ทักษะการคิด
สามารถคิดเชื่อมโยงเรื่องการทำหนังสั้นให้เข้ากับสิ่งที่มีอยู่เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ออกมาดีที่สุด
คิดสร้างสรรค์ในการผลิตสื่อหนังสั้นที่สร้างสรรค์ได้อย่างเป็นขั้นตอนและตรงตามเป้าหมายที่ต้องการ
การคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
ทักษะการสื่อสาร
- พูดนำเสนอหรืออธิบายขั้นตอนในการวางแผน ออกแบบการทำงาน ได้อย่างน่าสนใจและสร้างสรรค์
- อธิบายและนำเสนอชิ้นงานเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกสู่ผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
- สามารถประนีประนอม ยืดหยุ่นเมื่อเกิดความขัดแย้งในการทำงานหนังสั้นเป็นกลุ่มได้อย่างมีเหตุผล
คุณลักษณะ :
- ใช้คำพูดในการสนทนากับเพื่อนอย่างสุภาพขณะทำหนังสั้น
- การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ส่งงานตรงเวลา
- มีจิตอาสาในการทำหนังสั้น มีน้ำใจ ช่วยเหลือแบ่งปัน


เพื่อนใหม่ตัวแสบ(Official Trailer)

ผู้บ่าวพื้นบ้าน(Official Trailer)

ไอ้หนุ่มเมืองกรุง(Official Trailer)




























บันทึกหลังการสอน สัปดาห์ที่ 6 PBL หน่วย : สร้างหนังสั้นรู้ทันสื่อ (Short Movie Indy ไทบ้าน)

หลังจากที่นักเรียนได้เริ่มถ่ายทำหนังสั้นก็ได้พบปัญหาหลายอย่าง เช่น การถือกล้องไม่นิ่ง การเลือกใช้มุมกล้องยังไม่น่าสนใจ ลืมอุปกรณ์ ขาดการเตรียมชุดสำหรับการแสดง ลืมบท อายที่ต้องพูดตามบท มีเสียงแทรกจากภายนอก เวลาไม่เพียงพอสำหรับการทำงาน นักแสดงขาดเรียน ฯลฯ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นล้วนเป็นประเด็นที่นำมาสนทนาแลกเปลี่ยนหลังจากที่นักเรียนได้เริ่มลงมือถ่ายในช่วงท้ายชั่วโมง นักเรียนแต่ละกลุ่มมีความพยายามในการทำงานกลุ่มของตนเองให้สำเร็จ บางกลุ่มต้องถ่ายหลายครั้งเนื่องจากเพื่อนลืมบท หรือบางครั้งหัวเราะ เสียงแทรกและอีกหลายเหตุผลดังที่กล่าวข้างต้นทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ว่า กว่าจะได้หนังสั้น 1 เรื่องจะต้องใช้ความพยายามในการทำงานอย่างมาก และองค์ประกอบทุกอย่างทั้งนักแสดง ฉาก ชุด มุมกล้อง ทุกอย่างมีความสำคัญและจะต้องตรียมพร้อม เพื่อให้ได้งานตามที่ต้องการ และบางครั้งจะต้องมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น เพื่อนนักเรียนบางคนขาดเรียน เพื่อนนักเรียนบางคนลืมชุดแสดง ก็ต้องมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนเพื่อให้งานไม่สะดุด เช่นกลุ่มพี่เพลง พี่โมกข์เป็นนักแสดงหลัก แต่พี่โมกข์ไม่สบายจึงหยุดเรียนเป็นเวลา 2 วัน ทำให้เพื่อนๆต้องสลับถ่ายฉากอื่นรอแล้วค่อยนำมาเรียบเรียงใหม่ทีหลัง กลุ่มพี่ออสตินลืมอุปกรณ์ประกอบฉากก็แก้ปัญหาโดยประยุกต์อุปกรณ์อื่นแทน กลุ่มพี่โก้มีบางฉากที่ต้องถ่ายเวลาเช้าช่วงพระบิณฑบาตร จึงต้องยืมกล้องไปถ่ายที่บ้าน ปัญหาต่างๆมีทางแก้ไข และการได้เผชิญปัญหาจากการทำงานทำให้เด็กๆได้เรียนรู้ มีทักษะในการแก้ปัญหาและเติบโตทางความคิดมากขึ้น สัปดาห์นี้ครูมีโจทย์ที่สำคัญคือหลังจากเริ่มถ่ายทำไปหลายฉากแล้ว “นักเรียนจะทำอย่างไรเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้อื่นได้รับทราบและอยากติดตามผลงานหนังสั้นที่นักเรียนกำลังทำอยู่ว่ามีความน่าสนใจ” ซึ่งให้โจทย์อีกข้อคือ ต้องใช้เวลาไม่นาน เด็กๆจึงได้ข้อสรุปว่าจะทำตัวอย่างหนังสั้น เบื้องต้นมีเพื่อนบางคนในแต่ละกลุ่มที่มีทักษะในการตัดต่อได้แล้ว จึงเป็นเรื่องที่ไม่ยากนัก สัปดาห์นี้จึงมีชิ้นงานเริ่มเป็นรูปร่างให้ได้เห็นแล้ว นั่นก็คือ ตัวอย่างหนังสั้นทั้ง 3 เรื่องนั่นเอง เรื่องที่ 1 ไอ้หนุ่มเมืองกรุง เรื่องที่ 2 ผู้บ่างพื้นบ้าน เรื่องที่ 3 เพื่อนใหม่ตัวแสบ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น