เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษาที่ 2/2557 หน่วย: "สร้างหนังสั้นรู้ทันสื่อ(Short Movie Indy ไทบ้าน)"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. เข้าใจและสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ เลือกบริโภคสื่อต่างๆ ได้อย่างมีวิจารณญาณ
2. เข้าใจกระบวนการสร้างหนังสั้นและสามารถออกแบบวางแผนสร้างหนังสั้นที่มีคุณค่าต่อตนเองและสังคมได้อย่างสร้างสรรค์

week 4


เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 4มีวิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสุขภาพ อาหาร สารเคมี การดำเนินชีวิต ICT การประกอบการ เศรษฐศาสตร์ฯลฯ สามารถนำข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจและถ่ายทอดสู่ผู้อื่นได้อย่างน่าสนใจและสร้างสรรค์ ร่วมเข้าค่ายเรียนรู้เกี่ยวกับการทำสื่อและหนังสั้นร่วมกับผู้อื่น ฝึกทักษะชีวิตและการอยู่ร่วมกันได้  

Week
Input
Process
Out put
Outcome
4
2-6
ก.พ.
2558
โจทย์ : รู้เท่าทันสื่อและจัดกระทำข้อมูลในรูปแบบสื่อสร้างสรรค์
คำถาม
นักเรียนคิดว่าข้อมูลข่าวสารหรือโฆษณาจากสื่อต่างๆมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ?
นักเรียนจะนำข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจัดกระทำในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจและถ่ายทอดสู่ผู้อื่นได้อย่างน่าสนใจและสร้างสรรค์ได้อย่างไร ?
เครื่องมือคิด
Jigsaw ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับปัญหาจากสื่อหรือโฆษณาช่องทางต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ และSocial Network
Round Robin แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบจากการรับสื่อหรือโฆษณาประเภทต่างๆ เช่น สื่อวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ และSocial Network
Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
Wall Thinking ติดชิ้นงาน
Infographic สรุปความเข้าใจ
วันจันทร์ (3 ชั่วโมง )
ชง :
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  นักเรียนคิดว่าข้อมูลข่าวสารหรือโฆษณาจากสื่อต่างๆที่เราได้รับมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ?”
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันตอบคำถามและอภิปราย แสดงความคิดเห็นและให้เหตุผล เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารและสื่อต่างๆที่พบในชีวิตประจำวัน
ชง :
- ครูนำคลิปโฆษณา “ซุปไก่สกัด”มาให้นักเรียนดูและวิเคราะห์ร่วมกัน หลังจากนั้นครูเปิดคลิปข่าว “ความจริงกับประโยชน์ของซุปไก่สกัด”ให้นักเรียนดู
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องซุปไก่สกัดและความคุ้มค่า
- ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มค้นคว้าเกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงและนำเสนอในรูปแบบที่แปลกใหม่ เช่นป้ายโฆษณา แผ่นพับ คลิปโฆษณา ฯลฯ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบและวางแผนการทำงาน เช่น แบ่งหน้าที่ในการทำงาน แบ่งหัวข้อในการไปศึกษาค้นคว้าแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ร่วมกันก่อนที่จะทำเป็นชิ้นงาน

วันอังคาร ( 3 ชั่วโมง )
ชง :
ครูใช้คำถามนำ นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับอะไรบ้างในวันที่ผ่านมา แต่ละกลุ่มเกิดปัญหาอะไรขึ้นบ้าง และมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร ?”
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็นจากคำถามในขั้นชง
ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะค้นคว้าเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงได้อย่างไร”
เชื่อม :
นักเรียนร่วมกันตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็นจากคำถามในขั้นชง
ชง :
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าข้อมูลข่าวสารหรือโฆษณาจากสื่อต่างๆที่นักเรียนได้จากการค้นคว้ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ?”
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันตอบคำถามและอภิปราย แสดงความคิดเห็นและให้เหตุผล เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่กลุ่มตนเองค้นคว้ามาจากแหล่งต่างๆ เช่นหนังสือ วารสาร คลิปวีดีทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต ฯลฯ
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนจะนำข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจัดกระทำในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจและถ่ายทอดสู่ผู้อื่นได้อย่างน่าสนใจและสร้างสรรค์ได้อย่างไร ?”
เชื่อม :
นักเรียนร่วมกันอภิปรายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันจากคำถามในขั้นชง โดยใช้เครื่องมือคิด Round Robin
ใช้ :
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำข้อมูลจากจากหัวข้อที่ได้รับมอบหมายศึกษาค้นคว้าและ ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อใช้สำหรับต่อยอดในการผลิตสื่อที่เป็นข้อเท็จจริง ผ่านชิ้นงานที่แปลกใหม่และน่าสนใจ เช่น คลิปรายการ แผ่นพับ โปสเตอร์โฆษณา ฯลฯ

วันศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )
             นักเรียนเข้าค่ายเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการทำสื่อสารคดีและหนังสั้น รวมทั้งฝึกทักษะชีวิต ณ บ้านซับหินแก้ว ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา การเดินทางไป โดยรถไฟ ต่อรถสองแถว การเดินทางกลับ รถตู้โรงเรียน ระหว่างวัน ที่ 5 - 7 กุมภาพันธ์ 2558 โดยมี ครูปรีดา ปัญญาจันทร์ เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ การทำสื่อสารคดีและหนังสั้นอย่างสร้างสรรค์ และมีกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น เดินชมอาชีพและวิถีชีวิตของชาวบ้านซับหินแก้ว (เลี้ยงโคนม ทำเครื่องแบบทหาร ทำไร่ละหุ่ง) กิจกรรมปีนเขา กิจกรรมเขียนบทสารคดี/หนังสั้น กิจกรรมการแสดงรอบกองไฟ ฯลฯ
ภาระงาน
- การวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารที่ตนเองสนใจหรือตามได้รับมอบหมาย
 - การผลิตสื่อที่เป็นข้อเท็จจริงและการนำเสนออย่างสร้างสรรค์ ผ่านชิ้นงานที่แปลกใหม่และน่าสนใจ เช่น คลิปรายการ แผ่นพับ โปสเตอร์โฆษณา ฯลฯ
- การเข้าค่ายเรียนรู้การทำสื่อโฆษณาและหนังสั้น
ชิ้นงาน
- สื่อที่เป็นข้อเท็จจริงและการนำเสนออย่างสร้างสรรค์ ผ่านชิ้นงานที่แปลกใหม่และน่าสนใจ เช่น คลิปรายการ แผ่นพับ โปสเตอร์โฆษณา ฯลฯ
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าค่าย
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ : มีวิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสุขภาพ อาหาร สารเคมี การดำเนินชีวิต ICT การประกอบการ เศรษฐศาสตร์ฯลฯ สามารถนำข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจและถ่ายทอดสู่ผู้อื่นได้อย่างน่าสนใจและสร้างสรรค์ ร่วมเข้าค่ายเรียนรู้เกี่ยวกับการทำสื่อและหนังสั้นร่วมกับผู้อื่น ฝึกทักษะชีวิตและการอยู่ร่วมกันได้  
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
สร้างสรรค์ชิ้นงานสื่อความเข้าใจของตนเองได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์
สามารถอยู่ร่วมกับเพื่อนในการเข้าค่ายตลอด 3 วัน 2 คืน ณ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
วางแผนการปีนเขาและจัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นในการเดินทางได้
เลือกใช้วัสดุ/อุปกรณ์ในการทำงานได้คุ้มค่า
ทักษะการคิด
สามารถคิดเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์จากสิ่งที่ได้เรียนรู้เชื่อมโยงสู่ชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถพูดนำเสนอข้อมูลที่หาได้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆเพื่อถ่ายทอดสู่ผู้อื่น ได้อย่างน่าสนใจและสร้างสรรค์
- สามารถประนีประนอม ยืดหยุ่นเมื่อเกิดความขัดแย้งในการอยู่ร่วมกันขณะเข้าค่ายและทำงานได้อย่างมีเหตุผล
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามรถสรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้จากการเข้าค่ายถ่ายทอดสู่ผู้อื่นในรูปแบบบทความหรือชิ้นงานที่สร้างสรรค์และน่าสนใจ
- คิดวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับและได้จากการค้นคว้าได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
-  ทำงานเป็นกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นในเข้าค่ายและทำกิจกรรมต่างๆอย่างพร้องเพรียง
-  มีจิตอาสาในการเก็บขยะและอุปกรณ์หลังการเข้าค่าย
คุณลักษณะ :
มีความพยายาม อดทนในการปีนเขาและทำกิจกรรมร่วมกัน
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและกล้าแสดงความคิดเห็นขณะเข้าค่ายใช้ชีวิตร่วมกัน
- เคารพ ยอมรับและรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- รับผิดชอบต่อตนเองในการเตรียมตัวเดินทางและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์
- อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข





















































บันทึกหลังการสอน สัปดาห์ที่ 4 PBL หน่วย : สร้างหนังสั้นรู้ทันสื่อ (Short Movie Indy ไทบ้าน)
สัปดาห์นี้มีเวลาเรียนรู้ในห้องเรียนไม่มากแต่มีเวลาเรียนนอกห้องเรียนเป็นส่วนใหญ่จากกิจกรรมการเข้าค่ายที่ บ้านซับหินแก้ว ต.จันทึก อำเภอปาช่อง จังหวัดนครราชสีมา ครูปรีดา ปัญญาจันทร์(นักเล่านิทาน นักเขียน นักวาดภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็ก และอาจารย์พิเศษสาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)ช่วยเป็นวิทยากร และคอยอำนวยความสะดวกกับครูและนักเรียน ที่พักไม่มีไฟฟ้าเป็นเสน่ห์ของการเข้าค่ายในครั้งนี้ การอยู่อย่างเรียบง่าย ท่ามกลางธรรมชาติ การเรียนรู้ที่จะอยู่กับตนเองและผู้อื่นเป็นทักษะที่จำเป็นและสำคัญที่พี่ๆ ชั้น ป.6 ได้มีโอกาสได้เรียนรู้ตลอดช่วงระยะเวลาที่ได้เข้าค่าย กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนช่วยทำให้นักเรียนได้เห็นมิติต่างๆที่แตกต่างไปจากเดิม หลายคนรู้สึกตื่นเต้นที่ได้มีโอกาสเดินทางกับครูและเพื่อนๆโดยรถไฟ ต่อด้วยรถสองแถว ตลอดทั้งสองข้างทางล้วนเป็นสิ่งแปลกใหม่ที่ชวนให้เด็กๆได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกับเวลาที่ค่อยๆเคลื่อนผ่านไปอย่างมีความหมาย การเดินทางในครั้งนี้ไม่มีผู้ปกครองร่วมเดินทางไปด้วย มีเพียงเด็กๆและคุณครู ซึ่งเป็นอีกข้อพิสูจน์ว่าเด็กๆจะต้องได้เรียนรู้จากห้องเรียนที่แท้จริงและจะต้องเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ต้องดูแลตนเองให้ได้ ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนๆและครูที่อยู่ร่วมกันมานาน กิจกรรมการเรียนรู้เป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่มีการรีบเร่ง ทุกคนได้ซึมซับมิตรภาพระหว่างเพื่อน ความอบอุ่นจากธรรมชาติรอบกาย จนกระทั่งการเดินทางอันท้าทายมาถึงนั่นคือการปีนเขาของเช้าวันใหม่ มีเป้าหมายคือฝึกความอดทน ทุกคนผ่านไปได้ด้วยดี มีเพียงเพื่อนบางคนที่อาจเดินช้ากว่าคนอื่น แต่ก็สามารถก้าวข้ามได้เช่นกัน ปิดท้ายกิจกรรมสำคัญคือ กิจกรรมรอบกองไฟ ที่มีการแสดงที่นักเรียนแต่ละกลุ่มเตรียมจัดเต็ม เพื่อให้เป็นค่ำคืนที่มีความสนุก ประทับใจและมีความหมายมากที่สุด ครูนิ่มกับครูบาสเดินทางมาถึงเวลาประมาณ 16:30 . และได้นำกิจกรรมสันทนาการให้กับพี่ๆ ชั้น ป.6 ก่อนที่จะเริ่มการแสดง การแสดงแต่ละกลุ่มเป็นไปอย่างสนุกสนาน ก่อนกิจกรรมสิ้นสุด ครูยิ้มได้เปิดประเด็นเกี่ยวกับการเดินทางมาเข้าค่ายในครั้งนี้ ซึ่งมีความหมายกับพี่ๆชั้น ป.6 ที่ต่างใกล้จบการศึกษา มีเพื่อนบางคนที่จะต้องได้ออกไปเรียนต่อที่อื่น เช่น พี่หมิว พี่โก้ พี่ฝ้าย พี่แอน พี่ฟิล์ม พี่โมกข์ และพี่ยุ้ย ซึ่งก็ทำให้เด็กๆซึ้งจนถึงกับหลั่งน้ำตาแทบทั้งหมด เด็กๆทุกคนรวมทั้งคุณครูได้กล่าวความรู้สึกของตนเองและได้กล่าวขอโทษและให้กำลังใจกันและกัน ผมเองรู้สึกตื้นตันใจและประทับใจในความเป็นผู้ใหญ่ของเด็กๆแต่ละคนที่มีความคิดเป็นผู้ใหญ่ เชื่อว่าค่ำคืนนี้เป็นคืนที่เด็กๆทุกคนจะได้เก็บความทรงจำดีๆที่เกิดขึ้นกับชีวิตของเขาตลอดไป ขอบคุณโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา  ขอบคุณผู้ปกครองที่ไว้วางใจ ขอบคุณครูและที่สำคัญมากๆคือเด็กๆที่น่ารักทุกคนครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น