เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษาที่ 2/2557 หน่วย: "สร้างหนังสั้นรู้ทันสื่อ(Short Movie Indy ไทบ้าน)"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. เข้าใจและสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ เลือกบริโภคสื่อต่างๆ ได้อย่างมีวิจารณญาณ
2. เข้าใจกระบวนการสร้างหนังสั้นและสามารถออกแบบวางแผนสร้างหนังสั้นที่มีคุณค่าต่อตนเองและสังคมได้อย่างสร้างสรรค์

week 2


เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 2สามารถออกแบบวางแผนการเรียนรู้ และการทำงานตามความความสนใจได้อย่างเป็นขั้นตอน

Week
Input
Process
Out put
Outcome
2
19-23
ม.ค.
2558
โจทย์ : วางแผนการเรียนรู้

Key  Questions :
นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้?
- สื่อข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมีความน่าเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด มีผลอย่างไรบ้าง และมีแนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะอย่างไร

เครื่องมือคิด
Blackboard Share : 
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการวางแผนการเรียนรู้ เรียงลำดับหัวข้อก่อนและหลัง
Round Robin : แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการออกแบบปฏิทิน
Show and Share: นำเสนอชิ้นงาน
Wall Thinking : ติดชิ้นงานปฏิทิน Quarter 4 และ
วิเคราะห์ข่าว

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน

สื่อแหล่งเรียนรู้
ข่าวที่น่าสนใจ เช่น
1. รักผ่านอินเทอร์เน็ต
2. แฉธุรกิจหารายได้พิเศษ
3. อันตรายจากเนื้อย่าง
4. รู้ให้ทันดอกเบี้ยโหด
5. ผลกระทบของสื่อต่อเด็ก

วันจันทร์ ( 3 ชั่วโมง )
ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้
เชื่อม :
- นักเรียนแต่ละคนแสดงความคิดเห็น
- ครูให้นักเรียนจับคู่เพื่อดูและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผนการเรียนรู้ ตลอดทั้ง 9 สัปดาห์
- นักเรียนแต่ละคู่ได้ข้อสรุปร่วมกันและให้แต่ละคู่รวมกลุ่ม 3 คู่ (กลุ่มละ 6 คน)เพื่อดูและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผนการเรียนรู้ ตลอดทั้ง 9 สัปดาห์อีกครั้ง
วันอังคาร ( 3 ชั่วโมง )
ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะนำเสนอสิ่งที่ตนเองสนใจอย่างไรให้น่าสนใจ
เชื่อม :
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ ปฏิทินการเรียนรู้ตลอดทั้ง 9 สัปดาห์ และหลอมรวมปฏิทินการเรียนรู้ทั้ง 9 สัปดาห์ ผ่านเครื่องมือคิด Black board Share  
ใช้ :
ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มนำปฏิทินที่หลอมรวมแล้ว 9  สัปดาห์มาเขียนลงแผ่นชาร์ตกระดาษ 80 ปอนด์ ติดไว้ในชั้นเรียนเพื่อให้ง่ายต่อการดูแผนการเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์
วันศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม และนำข่าวเกี่ยวกับประเด็นต่างๆมาให้นักเรียนวิเคราะห์ เช่น
1. รักผ่านอินเทอร์เน็ตระบาดหนัก เตือนวัยรุ่นระวังมิจฉาชีพล่อลวง
2. แฉธุรกิจหารายได้พิเศษ ทำงานผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่จำกัดวุฒิ
3. อันตรายจากเนื้อย่างเกาหลี
4. รู้ให้ทันดอกเบี้ยโหด กู้ 4 หมื่น หนี้ 69 ล้าน เป็นไปไม่ได้
5. ผลกระทบของสื่อมวลชนต่อเด็ก
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าสื่อข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมีความน่าเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด มีผลอย่างไรบ้าง และมีแนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะอย่างไร
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและอภิปรายจากคำถามในขั้นชง
- ครูแจกอุปกรณ์ กระดาษขนาด A3 สีเมจิก ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเพื่อบันทึกการวิเคราะห์ข่าว
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
ใช้:
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
- ครูนำนักเรียนทำกิจกรรม นิวรณ์ 5 “กลับมารู้ตัว” เพื่อดึงความคิด ความรู้สึกกลับมาอยู่กับตัวเองบ่อยๆ แทรกทุกครั้งเมื่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้ทุกคนไม่มีสติในการทำงาน เสียเวลา / คุณภาพงานไม่สอดคล้องกัน
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่  2
ภาระงาน
- ออกแบบและวางแผนการเรียนรู้ผ่านการทำปฏิทิน 9 สัปดาห์และนำเสนอปฏิทินการเรียนรู้
- ระดมความคิดเพื่อวิเคราะห์ข่าว
ชิ้นงาน
- ปฏิทินการเรียนรู้ตลอดทั้ง Quarter 4
- วิเคราะห์ข่าว
- สรุปการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 2

ความรู้ : สามารถออกแบบวางแผนการเรียนรู้ และการทำงานตามความความสนใจได้อย่างเป็นขั้นตอน
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
สร้างสรรค์ชิ้นงานสำหรับออกแบบการเรียนรัตลอดทั้ง 9 สัปดาห์ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับเวลา
ออกแบบและวางแผนการทำงานทั้งการทำปฏิทินสำหรับการเรียนรู้ Quarter 4และการวิเคราะห์ข่าวได้อย่างเป็นขั้นตอน
เลือกใช้วัสดุ/อุปกรณ์ในการทำงานได้คุ้มค่า
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
สามารถคิดเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
สามารถสังเคราะห์ข้อมูลปฏิทินที่แต่ละกลุ่มทำรวมเป็นปฏิทินห้องได้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอการวิเคราะห์ข่าวได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการจัดการข้อมูล
นำข้อมูลที่อ่านมาวิเคราะห์และจัดกระทำให้อยู่ในรูปที่ง่ายต่อความเข้าใจ
- คิดวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
-  ทำงานเป็นกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นในการทำปฏิทินและวิเคราะห์ข่าว
-  มีจิตอาสาในการเก็บอุปกรณ์หลังการทำงานสร้างปฏิทินและวิเคราะห์ข่าว
คุณลักษณะ :
คารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นเกี่ยวกับข่าวที่วิเคราะห์อย่างไม่มีอคติ
สร้างสรรค์ชิ้นงานปฏิทินการเรียนและการวิเคราะห์ข่าวได้เต็มศักยภาพของตนเอง









































บันทึกหลังการสอน สัปดาห์ที่ 2 PBL หน่วย : Short Movie Indy ไทบ้าน
สัปดาห์ที่ 2 ของการเรียนรู้ครูเริ่มต้นด้วยการทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมาและตั้งคำถามให้นักเรียนคิดต่อว่านักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้อย่างไร นักเรียนมีความคิดเห็นตรงกันคือระดมความคิดเพื่อขมวดหัวข้อที่จะเรียนรู้บนกระดานร่วมกันก่อน แล้วให้แต่ละคู่ออกแบบวางแผนกิจกรรมทั้ง 9 สัปดาห์ ซึ่งนักเรียนแต่ละคู่ต่างตื่นเต้นที่จะได้วางแผนกิจกรรมและสิ่งที่ตนเองจะเรียนรู้ตลอดทั้ง 9 สัปดาห์ เมื่อแต่ละคู่ออกแบบเสร็จครูได้สุ่มนักเรียนนำเสนอปฏิทินที่ตนเองวางแผนต่อเพื่อนร่วมชั้นเรียนและคุณครู กิจกรรมวันต่อมาครูได้ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มเพื่อทำชิ้นงานชาร์ตแผ่นใหญ่ สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ และปฏิทิน 9 สัปดาห์ รวมทั้งจัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เหมาะสำหรับการเรียนรู้ PBLหน่วย : Short Movie Indy ไทบ้าน ซึ่งนักเรียนแต่ละกลุ่มได้ช่วยกันทำงานจนสำเร็จ วันศุกร์ครูได้ให้นักเรียนวิเคราะห์ข่าวต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น
1. รักผ่านอินเทอร์เน็ตระบาดหนัก เตือนวัยรุ่นระวังมิจฉาชีพล่อลวง
2. แฉธุรกิจหารายได้พิเศษ ทำงานผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่จำกัดวุฒิ
3. อันตรายจากเนื้อย่างเกาหลี
4. รู้ให้ทันดอกเบี้ยโหด กู้ 4 หมื่น หนี้ 69 ล้าน เป็นไปไม่ได้!
5. ผลกระทบของสื่อมวลชนต่อเด็ก
โดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มได้หัวข้อข่าวที่แตกต่างกัน แต่ละกลุ่มอ่านและทำความเข้าใจ จากนั้นวิเคราะห์ข่าวโดยการตอบคำถาม เช่น ปัญหาจากข่าวนี้คืออะไร สาเหตุของปัญหานี้คืออะไร ผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร และแนวทางแก้ไขในมุมมองของนักเรียนเป็นอย่างไร รวมทั้งข้อคิดหรือสิ่งที่ได้เรียนรู้จากข่าวที่ตนเองวิเคราะห์มีอะไรบ้าง หลังจากนั้นนักเรียนแต่ละกลุ่มได้ Show and Share แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และช่วงท้ายครูและนักเรียนได้สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันตลอดทั้งสัปดาห์โดยใช้เครื่องมือคิด Round Robin และสุดท้ายนักเรียนแต่ละคนได้สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ จากกิจกรรมที่ทำในวันศุกร์นักเรียนหลายคนแสดงความคิดเห็นคล้ายกันว่ารู้สึกสนุกที่ได้วิเคราะห์ข่าว เพราะเป็นข่าวที่อยู่ใกล้ตัวมาก สามารถเอาไปใช้ในชีวิตจริงได้ครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น