เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษาที่ 2/2557 หน่วย: "สร้างหนังสั้นรู้ทันสื่อ(Short Movie Indy ไทบ้าน)"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. เข้าใจและสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ เลือกบริโภคสื่อต่างๆ ได้อย่างมีวิจารณญาณ
2. เข้าใจกระบวนการสร้างหนังสั้นและสามารถออกแบบวางแผนสร้างหนังสั้นที่มีคุณค่าต่อตนเองและสังคมได้อย่างสร้างสรรค์

week 8

เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 8สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับสื่อและเทคโนโลยีในอนาคตได้ และเสนอแนวทางในการเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิจารณ์ผลงานตนเองและผู้อื่นเพื่อพัฒนางานอย่างต่อเนื่องแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล

Week
Input
Process
Out put
Outcome
8
2-6
มี.ค.
2558
โจทย์ : 
- สื่อและเทคโนโลยีในอนาคต
- ถอดบทเรียน สรุป นำเสนอ สะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้
Key  Questions
 - สื่อและเทคโนโลยีในอนาคตจะเป็นอย่างไร และนักเรียนจะเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงนั้นอย่างไร
- จากการดูงานของแต่ละกลุ่มนักเรียนรู้สึกอย่างไร และมีความคิดเห็นอย่างไร
- นักเรียนมีความเข้าใจต่อสื่อโฆษณาและหนังสั้นมากน้อยเพียงใด

เครื่องมือคิด
Brainstorms
การร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ “สื่อและเทคโนโลยีในอนาคตและการเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลง”
Show and Share
ถอดบทเรียนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสร้างสื่อโฆษณาและหนังสั้น
Round Robin
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการทำงาน และแนวทางแก้ไข

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- นักเรียน
- ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
ห้องเรียน
บรรยากาศในชั้นเรียน


วันจันทร์ ( 3 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำผลงานที่แต่ละกลุ่มตัดต่อเสร็จแล้วมาเปิดเพื่อนำเสนอต่อครูและเพื่อนๆ
เชื่อม :
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด จากการดูงานของแต่ละกลุ่มนักเรียนรู้สึกอย่างไรและมีความคิดเห็นอย่างไร
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและสะท้อนผลงานของแต่ละกลุ่ม
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด จากการทำงานที่ผ่านมานักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง
- นักเรียนแต่ละกลุ่มระดมความคิดในหัวข้อ “ถอดบทเรียนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำสื่อโฆษณาและหนังสั้น” โดยครูแจกกระดาษ ขนาด A3 และสีเมจิกให้แต่ละกลุ่มระดมความคิดร่วมกันโดยใช้เวลา ประมาณ 40 นาที และนำเสนอ Show and Share
- ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันอีกครั้ง

วันอังคาร ( 3 ชั่วโมง )
ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด  นักเรียนคิดว่าสื่อและเทคโนโลยีในอนาคตจะเป็นอย่างไร และนักเรียนจะเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงนั้นอย่างไร
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนอภิปรายหัวข้อ “สื่อและเทคโนโลยีในอนาคตร่วมกัน”
- ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่มเพื่อระดมความคิดเกี่ยวกับ “สื่อและเทคโนโลยีในอนาคตและการเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลง” โดยจัดกระทำชิ้นงานในรูปแบบชาร์ต Flow Chart หรือ Placemat ตามความสนใจและนำเสนอต่อครูและเพื่อนร่วมชั้น
ใช้ : ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันอีกครั้งและให้นักเรียนสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อและเทคโนโลยีในอนาคตในรูปแบบ การ์ตูน หรือบทความ ตามความสนใจ

วันศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนมีความเข้าใจต่อสื่อโฆษณาหนังสั้นมากน้อยเพียงใดและจะรู้ได้อย่างไรว่าตนเองมีความเข้าใจต่อหน่วยที่ได้เรียนรู้
เชื่อม :
นักเรียนร่วมกันตอบคำถามในขั้นชงและให้นักเรียนแต่ละคนตอบคำถามหลังเรียน (ตอบคำถามจากสิ่งที่นักเรียนอยากเรียนรู้)
ชง :
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ตลอดทั้ง 8 สัปดาห์ที่ผ่านมานักเรียนจะสรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ในรูปแบบใดให้น่าสนใจ ?
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันระดมความคิด
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้ง 8 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ใช้ :
- นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้หลังเรียนในรูปแบบ Mind Mapping
ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 8
ภาระงาน
- ร่วมแสดงความคิดเห็นและถอดบทเรียนจากสื่อโฆษณาและหนังสั้น
- การอภิปรายหัวข้อ “สื่อและเทคโนโลยีในอนาคต”

ชิ้นงาน
- โฆษณาและหนังสั้น
- สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีในอนาคตและการเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบ การ์ตูน หรือบทความ ตามความสนใจ
- ตอบคำถามจากสิ่งที่อยากรู้
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้หลังเรียนในรูปแบบ Mind Mapping
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่  8

ความรู้ :
สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับสื่อและเทคโนโลยีในอนาคตได้ และเสนอแนวทางในการเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิจารณ์ผลงานตนเองและผู้อื่นเพื่อพัฒนางานอย่างต่อเนื่องแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือในการ สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้ในการทำสื่อโฆษณาและหนังสั้นของตนเองและกลุ่ม 
- มีความยืดหยุ่นต่อในถอดบทเรียนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำสื่อโฆษณาและหนังสั้นและมีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย
นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ (คาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตและเสนอแนวทางเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลง)
ทักษะการคิด
สามารถคิดเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข่าวสารข้อมูลจากสื่อหรือโฆษณาผ่านช่องทางต่างๆได้อย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน รวมทั้งสามารถถ่ายทอดสู่ผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
การคิดวิเคราะห์เพื่อจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มได้อย่างเหมาะสม
ทักษะการสื่อสาร
สามารถประนีประนอม ยืดหยุ่นเมื่อเกิดความขัดแย้งในการทำงานได้อย่างมีเหตุผล
คุณลักษณะ :
มีความพยายาม อดทนในการทำชิ้นงานให้สำเร็จตามเวลาที่กำหนด
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและกล้าแสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาตนเองและผู้อื่นอย่างต่อเนื่อง
- เคารพ ยอมรับและรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- รับผิดชอบต่อตนเองในการเตรียมอุปกรณ์การแสดงในการสรุป Quarter
- อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข


























































บันทึกหลังการสอน สัปดาห์ที่ 8 PBL หน่วย : สร้างหนังสั้นรู้ทันสื่อ (Short Movie Indy ไทบ้าน)

            สัปดาห์ที่ 8 ของการเรียนรู้ นักเรียนหลายคนต่างรู้สึกใจหาย และบอกว่าเวลาผ่านไปเร็วมาก สัปดาห์นี้เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับสื่อและเทคโนโลยีในอนาคตและการเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งครูและนักเรียนได้ระดมความคิดร่วมกัน โดยครูได้แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ประมาณ 4 กลุ่ม และให้นักเรียนร่วมกันระดมความคิดเกี่ยวกับสื่อและเทคโนโลยีในอนาคตและการเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง โดยใช้เครื่องมือคิดที่หลากหลาย ตามความสนใจ เช่น Placemat / Flow Chart / Chart  ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างเข้มข้น ครูได้เห็นการคิดเชิงอนาคตของเด็กๆที่ต่างมีจินตนาการที่มีทั้งส่วนที่เหมือนและต่างกัน มีทั้งนักเรียนที่มองในด้านบวก เช่น จะทำให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ราคาจะไม่แพง คุณภาพชีวิตดีขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยีทำให้มีขนาดเล็กลง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการใช้พลังงานลง ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น และอีกด้านที่เป็นด้วนตรงกันข้าม เช่น ภัยจากอินเทอร์เน็ตรูปแบบต่างๆมีมากขึ้น เช่นการล่อลวง การโจรกรรมข้อมูล การเผยแพร่สื่อที่ไม่เหมาะสมทำง่ายขึ้น ทั้งสื่อลามก อนาจาร ความรุนแรง ยาเสพติด การค้าสิ่งของหนีภาษี ผิดกฎหมาย มีการละเมิดลิขสิทธิ์ง่ายขึ้น การใช้ทรัพยากรที่มากเกินความจำเป็นส่งผลให้เกิดวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมฯลฯ ส่วนแนวทางแก้ไขที่นักเรียนเสนอมา เช่น ใช้วิจารณญาณในการเลือกรับสื่อ ใช้สื่อให้พอเหมาะไม่หมกมุ่นมากเกินไป และศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนที่จะเชื่อหรือทำอะไร หลังจากนั้นครูได้ให้นักเรียนแต่ละคนทำชิ้นงานเพื่อสรุปสิ่งที่ตนเองเข้าใจเกี่ยวกับสื่อในอนาคตในรูปแบบที่ตนเองสนใจ เช่น บทความ นิทาน การ์ตูนช่อง Mind Mapping ฯลฯ ซึ่งส่วนมากนักเรียนชอบแต่งเรื่องราวเป็นนิทานและการ์ตูนช่อง วันต่อมาครูได้ให้นักเรียนตอบคำถามหลังเรียนเพื่อทบทวนสิ่งที่ตนเองเข้าใจ และเช็คว่าสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้ตอบโจทย์สิ่งที่อยากรู้ตั้งแต่เริ่มต้น Quarter ได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งเด็กๆทุกคนสามารถตอบคำถามได้ดี และใช้เวลาไม่นาน วันสุดท้ายเป็นกิจกรรมสรุปองค์ความรู้หลังเรียนของนักเรียนจากหน่วย  : สร้างหนังสั้นรู้ทันสื่อ (Short Movie Indy ไทบ้าน) โดยก่อนที่จะสรุปหลังเรียนครูและนักเรียนได้ร่วมกันทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นและสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอด Quarter ร่วมกัน หลังจากนั้นจึงให้นักเรียนสรุปองค์ความรู้หลังเรียน นักเรียนให้ความร่วมมือและสนุกกับกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ท้ายๆของการเรียนรู้ร่วมกันก่อนที่จะจบชั้น ป.6 

1 ความคิดเห็น: